ประวัติความเป็นมา(5)

                สำหรับในด้านการแข่งขันมวยไทยเป็นมาอย่างไรนั้น ขอนำบทความในเรื่อง “จากสวนกุหลาบถึงราชดำเนิน” ของสมิงกระหร่อง ซึ่งได้เขียนไว้ในสมุดภาพบันทึกความวิวัฒนาการของเวทีมวยราชดำเนินดังต่อไป
                การเขียนเรื่องกีฬามวยไทยกำเนิดขึ้นในสมัยใดนั้นเป็น เรื่องสุดวิสัยของการเขียน รายละเอียดของการก่อตั้งกีฬามวยเมืองไทยเป็นเพียง ตั้งแต่ยุคสมัยสวนกุหลาบสมัยพระยา “แม็คนนท์เสน” มาจนถึงสมัยเวทีราชดำเนินก็ตกอยู่ในภาวะอันเดียวอย่างที่เราและท่านจะเล่า สู่กันฟัง ได้เพียงจากความทรงจำบางระยะบางตอนเท่านั้น เพราะว่าความทรงจำของคนเรานั้นมักสั้น เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังนี้เสี่ยงต่อการผิดพลาด ได้มากทีเดียว ถึงกระนั้นก็พยายามอย่างที่สุดเท่าที่จะพยายามทำได้
                ที่เรียกว่าสนามครั้งนั้นเป็นสนามจริง นายสนามเอาเชือกมากั้นพอเป็นบริเวณเข้า และนักมวยก็คาดเชือกชกกันบนพื้นดิน ใช้จอกหรือกะลา ลอยน้ำเป็นมาตรากำหนดเวลาจบครั้งหนึ่งเรียกว่ายกหนึ่ง การต่อสู้ตามความรู้สึกในขณะนั้นก็เรียกว่าตื่นเต้นดี แต่ถ้าหากให้ชกกันเดี๋ยวนี้ก็คง ถูกคนดูโห่หรือให้กรรมการไล่ลงหรือออกจากเวทีแน่ เพราะกว่าจะชกกันแต่ละครั้งนั้นนานจนเมื่อยตา แต่ก็น่าเห็นใจเนื่องจากหมัดที่ใช้ชกคาดด้วย เชือกแทนสวมนวมอย่างไรก็ดีกีฬามวยเริ่มเข้าสู่ระเบียบอย่างจริงจัง ก็เมื่อสร้างเวทีขึ้นกลางสนามฟุตบอลสวนกุหลาบ พื้นใช้ไม้กระยาเลยเสื่อลำแพน หรือเสื่อกระจูดปูทับข้างบน มีการนับยกโดยการจับเวลาเป็นนาทีมีกรรมการคอยห้าม ครั้งแรกเคยใช้กรรมการ 2 คน คนหนึ่งคอยกันฝ่ายแดง อีกฝ่ายคอยกันฝ่ายน้ำเงิน คนหนึ่งคือพระยานนท์เสน อีกคนหนึ่งคือพระยานเรนทร์ราชาที่เป็นกรรมการตัดสินที่นิยมยกย่องแพร่หลาย อยู่ในระหว่าง นักมวยและคณะหัวหน้านักมวยทั่วไป
                สำหรับการชกนั้น ชกกันสลับคู่ เช่น คู่ 1 ชกครบ 1 ยกแล้วก็ลงจากเวที มาให้คู่ 2 ขึ้นไปชกกันเพื่อมิให้คนดูเสียเวลารอคอย พอครบยกก็ลง ให้คู่แรกขึ้นชกยกที่ 2 หากยังไม่มีการแพ้ชนะกันก็ให้ชกกลับกันเรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นแสงตะวัน หลักเกณฑ์และกติกาเบื้องต้นอนุญาตให้ซ้ำกันได้ในเวลาล้ม นักมวยตอนนั้นจึงต้องเรียนรู้วิธีต่อสู้รอบตัวทีเดียวเพราะฟาวล์ไม่มี แม้กระทั่งกัดใบหูก็เคยปรากฏ อีกอย่างหนึ่งสมัยนั้นนักเรียนพลศึกษามีมากอยากจะขึ้นชก เป็นการแสดงฝีมือ และสอบไล่มวยไทยไปในตัวเสร็จแต่กลัวเท้าพวกนักมวยต่างจังหวัด จึงตกลงวางหลักกติกาให้มีการใช้ยูยิตสูช่วยด้วย จึงเป็นของธรรมดาที่เรา จะเห็นนักมวยต่างจังหวัดซึ่งไม่เคยรู้ยูยิตสูคืออะไร ถูกทุ่มถูกล็อคจนออกปากส่งเสียงร้องเอ็ดตะโรยแพ้ให้ลั่นไป นอกจากบางรายอย่าง ประสิทธิ บุญญารมย์ ซึ่งถูกตาทับจำเกราะเตะเสียจนตั้งตัวไม่ติดและสลบคาเท้าไปในที่สุด

.


Free Web Hosting