ประวัติความเป็นมา(6)

                กติกามวยไทยเราได้รับการทำนุบำรุง ได้รับการปรับปรุงระเบียบแบบแผน กฎกติกา จรรยา มารยาท และสวัสดิภาพตามแบบสากลนิยม หลายคนที่เคยดูมวยสมัยนั้น และสมัยต่อ ๆ มาที่หลักเมือง ที่สวนกุหลาบสนามชัย ท่าช้าง เคยเห็นนักมวยและมิตรสหายชาวเกลอของนักมวยยกพวกตีกันหัวร้างข้างแตก ภายหลังจากการชิงชัย เพราะว่าฝ่ายใดไม่พอใจ ขุ่นแค้นอาฆาตพยาบาท หรือเพียงแพ้พนัน แต่เมื่อได้มาเห็นนักมวยที่หน้าตายับเยิน ตรงเข้าสวมกอดกันหลังจากที่การชกได้ยุติ ลงและจูงมือเข้าโรงอาหารหรือสุรา เมื่อออกจากสนามก็มักจะตื่นเต้นในความเป็นนักกีฬาที่แสดงแก่กันนั่นเองที่ผล ของพลศึกษาในสาขาวิชามวย ทั้งแบบไทยและสากล ได้ให้แก่จิตใจของนักกีฬาและประชาชนตลอดยุคแห่งการล้มลุกคลุกคลานของกีฬามวย จากสวนกุหลาบยุคโน้น มาจนถึงเวทีราชดำเนินในปัจจุบัน

                ความเป็นมาของมวยไทย มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและ การต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภท นี้มีมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝน วิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจน ทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธในสมัยโบราณ เช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าต่อสู้ติดพันประชิดตัว ก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดินมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่ หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชนซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดา อาจารย์ซึ่งเดิมเป็นขุนพลหรือยอดนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
                มวยไทยศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว แต่ก็แตกต่างไปจากมวยสากล คือ นอกจากจะใช้หมัดชกคู่ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ เท้า เข่า และศอกต่อสู้ได้อีก การใช้หมัดชกในแบบมวยไทย นอกจากจะมีการชกตรง ชกชุด และชกอัปเปอร์คัต เหมือนกับแบบมวยสากลแล้ว มวยไทยยังได้มีการชกมวยแบบมุดตัวเหวี่ยง หมัดกลับ ถ้าคู่ต่อสู้ไม่ได้จ้องดูและไม่ก้มศีรษะลง มักจะถูกหมัดเหวี่ยงกลับของคู่ต่อสู้ถึงกับน็อกเอาท์ก็ได้ หมัดเหวี่ยงกลับก็เป็นหมัดหนึ่งคล้ายกับมุด ตัวเหวี่ยงหมัดกลับ แต่ใช้ข้อมือหรือหลังมือทุบหรือตีคู่ต่อสู้ นักมวยไทยทั่ว ๆ ไปยังใช้วิธีชกตามแบบเหล่านี้อยู่ และนอกจากนั้นยังใช้อวัยวะอย่าง อื่นช่วยได้อีกหลายวิธี เช่น ใช้เท้าเตะต่ำ เตะสูง เตะตรง เตะตัด และถีบ ซึ่งจะใช้ได้ทั้งปลายเท้า ฝ่าเท้า หลังเท้า และส้นเท้า นักมวยไทยมีความชำนาญ มากในการใช้เท้า ส่วนใหญ่เป็นการเตะและถีบ ส่วนการใช้เข่า นักมวยไทยก็ใช้ได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น กระโดดตีเข่า จับกอดคู่ต่อสู้ตีเข่า นอกจากนั้น ยังรู้จักใช้ศอกซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอย่างยิ่ง วิธีตีศอกก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน คือ ศอกตี หมายถึงกดปลายศอกลงโดยตรงศอกตัด คือ เหวี่ยงศอกขนานกับพื้น ศอกงัด คือ วัดปลายศอกขึ้น หรือยกปลายศอกขึ้น ศอกพุ่ง คือ พุ่งศอกออกไปยังคู่ต่อสู้ ศอกกลับ คือ การหมุนตัวกลับพร้อมกับตีศอกตามแบบต่าง ๆ ไปด้วย

.

Free Web Hosting